POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวกำหนดรอบความเร็วและตัวแรงบิดของมอเตอร์ โดยตัว Pole จะคือจำนวนของขั้วแม่เหล็กที่พันกับขดลวดมอเตอร์ จำนวน Pole จึงเป็นตัวกำหนดความเร็วของมอเตอร์นั่นเอง
คิดได้ง่ายๆ ว่าตัว Pole ยิ่งมาก การทำรอบความเร็วก็ยิ่งต่ำและแรงบิดก็จะยิ่งสูง แต่ถ้าเมื่อใดที่ Pole น้อย ความเร็วของรอบก็จะสูงแต่แรงบิดจะกลับต่ำลง โดยทั่วไปแล้ว POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีอยู่ด้วยกัน 4 Pole ซึ่งตัวเลขการบอก Pole นี้ อาจทำให้คนทั่วไปที่กำลังศึกษาเรื่องมอเตอร์เกิดความสงสัยว่าคืออะไร แล้วสามารถบ่งบอกอะไรได้บ้าง วันนี้เราจึงมีคำตอบเรื่องตัวเลขของ POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าบ่งบอกอะไรได้บ้างมาฝาก
สารบัญเนื้อหา เลือกอ่านได้
จำนวนของ POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้า
จะส่งผลต่อรอบความเร็วของมอเตอร์ โดยมีสูตรแบบตายตัว คือ ความเร็วของสนามแม่เหล็ก (NS) = (120 x f) / P
โดยที่ f = ความถี่ของกระแสไฟฟ้าขนาด 50 Hz หรือ 60 Hz
P = จำนวนของขั้วแม่เหล็ก
สำหรับการใช้งานบางคนอาจสงสัยว่าต้องใช้เป็นแบบ 2 Pole หรือ 4 Pole ดี ตรงนี้จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของตัวงาน นอกจากนี้ความเร็วของมอเตอร์แต่ละตัวจะไม่เท่ากันและจะไม่ตายตัวเหมือนสูตร เพราะการออกแบบของผู้ผลิตแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน แต่หลักๆ แล้ว 2 Pole = 2800 rpm, 4 Pole = 1400 rpm และ 6 Pole = 900 rpm เป็นต้น หรือถ้าต้องการคำนวณเพื่อหาความเร็วรอบต่อนาที ก็สามารถใช้สมการดังต่อไปนี้
N = 120 x f/P
Where N = ความเร็วของรอบต่อนาที หรือที่เราเรียกว่า RPM
ส่วน P = จำนวนของ POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบัน “มอเตอร์ไฟฟ้า” มีความสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมอย่างมาก หรือแม้แต่การใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดก็ต้องพึ่งพามอเตอร์ไฟฟ้าเช่นกัน มอเตอร์จึงคือตัวกลางเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล เพื่อทำให้เครื่องมือนั้นๆ ทำงานได้ โดยภายในจะประกอบด้วยขดลวดที่พันอยู่รอบแกนของโลหะ จะอยู่บริเวณระหว่างขั้วแม่เหล็ก ซึ่งขดลวดที่พันอยู่รอบแกนนี้จะมีชื่อเรียกว่า POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้า
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังขดลวดที่ถูกพันไว้ตรงระหว่างแม่เหล็ก ขดลวดก็จะเริ่มหมุนไปรอบๆแกน ทำให้ไฟฟ้าสลับขั้ว การหมุนของขดลวดก็จะหมุนกลับไปทิศทางเดิมและเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะเริ่มทำงานขึ้นมาทันที พูดง่ายๆ ว่าเหมือนกับเราไปเสียบปลั๊กแล้วกดสวิตช์เท่านี้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็จะเริ่มทำงานทันที ส่วน POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าก็จะเป็นตัวกำหนดความเร็วอีกขั้นหนึ่ง
สำหรับประเภทของมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1.มอเตอร์แบบกระแสตรง หรือ DC
มอเตอร์ลักษณะนี้จะใช้ไฟฟ้ากระแสงตรงผ่านไปที่ขดลวดเลยทันที จนทำให้เกิดการดูดกันและผลักกันของสนามแม่เหล็กถาวรและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้ตัวขดลวดอาร์เมเจอร์ของมอเตอร์หมุนได้และสามารถใช้งานได้ทันที มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจะได้จากแบตเตอรี่, เครื่องยนต์ของรถยนต์ หรือจากแหล่งจ่ายไฟต่างๆ
2.มอเตอร์แบบกระแสสลับ หรือ AC
มอเตอร์ลักษณะนี้ต้องใช้กับกระแสไฟสลับ มีหลักการ คือ การดูดและผลักระหว่างแม่เหล็กถาวรกับแม่เหล็กไฟฟ้าตรงบริเวณขดลวด มอเตอร์จึงสามารถหมุนได้ ส่วนใหญ่แล้วมอเตอร์กระแสสลับจะได้จากไฟฟ้าบ้าน, ตัวอินเวอร์เตอร์ และเครื่องปั่นไฟ เป็นต้น
การใช้งานของมอเตอร์ทั้ง 2 แบบ
การใช้งานของมอเตอร์ทั้ง 2 แบบ ต้องมีความระมัดระวัง ควรใช้กับไฟฟ้าที่มีแรงดัน 220 โวลต์ขึ้นไป ไม่เช่นนั้นตัวมอเตอร์ไฟฟ้าอาจจะไม่ยอมทำงานและที่แย่กว่านั้นคืออาจเกิดการดันกลับ จนทำให้เกิดความร้อนที่น่ากลัวตรงขดลวด ยิ่งถ้าร้อนจัดก็ยิ่งทำให้เกิดไฟไหม้เสียหายหนักเลยทีเดียว
นอกจากนี้การใช้ในช่วงไฟตกหรือจุดที่มีไฟดับบ่อย จนทำให้เกิดการกระชากของไฟฟ้าบ่อยครั้งก็อาจทำให้ POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้า พังได้ง่ายๆ เช่นกัน และอีกเรื่องที่ควรระวัง คือ ในช่วงที่มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังหมุนอยู่นั้น จะเกิดเป็นการเหนี่ยวนำของไฟฟ้าแล้วกลายมาเป็นกระไฟซ้อน ที่อาจไหลย้อนกลับในทิศทางที่สวนกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากต้นทางหรือแหล่งต้นกำเนิด
ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็แน่นอนว่ามอเตอร์ของคุณจะร้อนจนสัมผัสได้ ถ้าไม่หยุดการทำงานก็อาจทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าระเบิดหรือไฟลุกไหม้ได้อย่างง่ายดาย
POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าจะเป็นจำนวนของขดลวดตรงระหว่างแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ไม่ได้เป็นตัวสร้างพลังงานกลที่ใช้งานได้จริง ถ้าจะใช้งานได้และเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ต้องมีการสร้างแรงบิดเพิ่มเข้ามาด้วย โดยแรงบิดนี้ก็คือการหมุนของตัว POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้า นั่นเอง ส่วนโครงสร้างของมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีตัวช่วยสำคัญอยู่หลายอย่าง เช่น
- โรเตอร์ คือ ส่วนเคลื่อนที่เพื่อหมุนเพลาแล้วจ่ายพลังงานกลออกมา โรเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามา แม่เหล็กก็จะไปทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์ ก็จะเกิดเป็นแรงขับเคลื่อนเพลาให้หมุนได้อย่างสมบูรณ์แบบ
- สเตเตอร์ มีส่วนประกอบ คือ ตัวโครงของมอเตอร์ มีลักษณะเป็นแกนเหล็กและขดลวดที่อยู่ด้วยกัน
- ช่องว่างอากาศที่อยู่ระหว่างโรเตอร์และสเตเตอร์ โดยจะต้องมีขนาดเล็กที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
- ขดลวดที่ทำให้เกิด POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าจะพันอยู่รอบแกนแม่เหล็กแล้วเคลือบด้วยฉนวนอีกชั้น เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกับขั้วแม่เหล็กแล้วเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ก็จะทำให้เกิดเป็นอำนาจของสนามแม่เหล็กที่กระจายตัวออกไปรอบแกน โดยทั่วไปถ้าแกนไม่ใหญ่ก็จะเป็นขดลวดทั่วไป แต่ถ้าแกนหนาหรือเป็นแผ่นโลหะ จากขดลวดก็จะกลายเป็นทองแดงและอาจใช้เป็นอะลูมิเนียม เพื่อให้การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นไปอย่างคล่องตัวที่สุด
มอเตอร์ไฟฟ้า แนะนำ
สรุป
ความรู้ด้านมอเตอร์ไฟฟ้าและ POLE ในมอเตอร์ไฟฟ้านั้นยังมีเจาะลึกมากกว่านี้ โดยเฉพาะในทางทฤษฎีที่อาจจะต้องเรียนรู้กันอีกยาว ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นความรู้คร่าวๆ ที่พอจะทำให้คุณเข้าใจทั้งตัวมอเตอร์และPOLE ในมอเตอร์ไฟฟ้าในระดับเบื้องต้น แต่ถ้าคุณต้องการได้มอเตอร์ไฟฟ้าไปใช้งานก็ขอให้จำไว้ว่าไม่มีมอเตอร์แบบไหนที่จะดีที่สุด เพราะสุดท้ายคุณก็ต้องเลือกที่ความเหมาะสมเป็นหลัก
ดังนั้น การเลือกใช้ให้ถูกลักษณะของงานจึงจะเรียกว่าดีที่สุด ถ้าคุณกำลังสนใจความรู้หรือต้องการสั่งซื้อ มอเตอร์ไฟฟ้า ที่ได้คุณภาพ ขอแนะนำ “วานิชกรุ๊ป” ผู้นำด้านสินค้าอุตสาหกรรมประเภทมอเตอร์ไฟฟ้าจากยุโรป โดดเด่นด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ทนทาน และช่วยประหยัดไฟ สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำ เกี่ยวกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าได้กับทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี จากทางวานิชกรุ๊ป เรายินดีและพร้อมบริการเสมอ